สภาพทั่วไป
ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบสูงมีภูเขาล้อมรอบและบางส่วนเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำวัง ห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางรถไฟ 634 กิโลเมตร และเส้นทางหลวงแผ่นดินสายพหลโยธิน 604 กิโลเมตร เทศบาลเมืองเขลางค์นคร อยู่ในท้องที่อำเภอเมืองลำปาง มี่พื้นที่ 195.49 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล คือ ตำบลปงแสนทอง ตำบลชมพู ตำบลพระบาท และตำบลกล้วยแพะ
ตำบล | พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) |
---|---|
ตำบลกล้วยแพะ | 46.06 |
ตำบลชมพู | 29.71 |
ตำบลปงแสนทอง | 31.23 |
ตำบลพระบาท | 88.49 |
รวมทุกตำบล | 195.49 |
สภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 268.60 เมตร ลักษณะภูมิประเทศมี สภาพทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ และที่ราบเชิงเขาเป็นบางส่วน เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นที่ อยู่ในเขตชุมชนเมืองกึ่งชนบท อุณหภูมิต่ำสุด 9.5 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุด 43.8 องศา เซลเซียส และมีอุณหภูมิต่ำสุด – สูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20.5 – 38.5 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน วัดได้เฉลี่ย 1,060.5 มิลลิเมตรต่อปี
อาณาเขต
เทศบาลเมืองเขลางค์นครมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลและอำเภอต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลพิชัย ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปางและเขตเทศบาลนครลำปาง
ทิศใต ติดต่อกับอำเภอแม่ทะ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอห้างฉัตร และอำเภอเกาะคา
เส้นทางคมนาคม
ทางรถไฟ มีทางรถไฟเส้นทางระหว่างกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ผ่านอำเภอเมืองลำปาง 1 สาย
ทางรถยนต์ มีเส้นทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมระหว่างจังหวัดลำปาง กับจังหวัดตาก,ลำพูน,แพร่,พะเยา และเชื่อมระหว่างอำเภอ ตำบล หมู่บ้านต่างๆได้อย่างทั่วถึง ประชาชนสามารถเดินทางไปมาได้สะดวกทุกฤดูกาล
ทางอากาศ มีท่าอากาศยานพาณิชย์ 1 แห่ง ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 5 ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง มีเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์บริการเป็นประจำทุกวัน
ลักษณะสังคมและชุมชน
ตามลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งของเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำวัง และบางส่วนเป็นที่ราบเชิงเขา ประชากรส่วนใหญ่จึงมีลักษณะกระจายตัวอยู่ทั่วไป จำแนกได้ดังนี้
– บริเวณที่ราบริมฝั่งแม่น้าวังทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก บริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดเพราะมีความสะดวกในการคมนาคม และยังมีแหล่ง น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ทำการเกษตรกรรมและอุตสา หกรรมเครื่องปั้นดินเผา
– บริเวณริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1036 ประชากรส่วนใหญ่เป็น”ชาวไทลื้อ” ที่มีวัฒนธรรมทาง ภาษาเป็นของตนเองซึ่งอพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนา มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ตั้งแต่สมัยโบราณ ในปัจจุบันนี้ยังคงรักษาวัฒนธรรมทางภาษาของตนเองไว้ บริเวณริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ชุมชนในบริเวณนี้ได้แก่ บ้านปงแสนทอง บ้านไร่ข่วงเปา บ้านไร่นาน้อย บ้านทุ่งกู่ด้าย บ้านหนองห้า
– บริเวณศูนย์ราชการ จ.ลำปาง เนื่องจากมีการตั้งสถาบันอุดมศึกษาและย้ายศูนย์ราชการจังหวัดลำปางมาตั้ง ในบริเวณนี้จึงมีการก่อสร้างหอพัก และหมู่บ้านจัดสรรขึ้นมารองรับ แต่ประชาชนในบริเวณนี้ยังมีไม่หนาแน่นนัก
– บริเวณบ้านผาลาด ซึ่งมีการตั้งบ้านเรือนอยู่สองริมฝั่งถนนลำปาง – เด่นชัย ทางแยกเข้าไปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ โดยทิศ ตะวันออกเป็นกลุ่มของคนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนทางด้านทิศตะวันตกของถนนเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนชาวเย้า ที่อาศัยอยู่ รวมกลุ่มกันและยังคงรักษาเอกลักษณะทางวัฒนธรรมของชนชาวเย้าทั้งวัฒนธรรมทางด้านภาษาและการแต่งกาย
การแบ่งเขตการปกครอง
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 64 ชุมชน จำนวนประชากรทั้งหมด 60,126 คน แยกตามลักษณะการปกครองดังนี้
ตำบลชมพู จำนวน 20 ชุมชน ประชากร 20,216 คน ชาย : 9,530 คน หญิง : 10,686คน
ตำบลปงแสนทอง จำนวน 21 ชุมชน ประชากร 17,424 คน ชาย : 8,307 คน หญิง : 9,117 คน
ตำบลกล้วยแพะ จำนวน 7 ชุมชน ประชากร 8,935 คน ชาย : 4,263 คน หญิง : 4,672 คน
ตำบลพระบาท จำนวน 16 ชุมชน ประชากร 13,085 คน ชาย : 6,258 คน หญิง : 6,827 คน
รวม 64 ชุมชน ประชากร 59,660 คน ชาย : 28,358 คน หญิง : 31,302 คน
ที่มา : งานทะเบียนราษฎร สำนักปลัดเทศบาล ณ พฤษภาคม 2563
จำนวนประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 51,088 คน จำนวนครัวเรือน 25,160 หลังคาเรือน
ที่มา : สำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลเมืองเขลางค์นคร ณ กรกรฎาคม 2562
ไฟฟ้า
ได้รับการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดลำปาง เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นครกระจายทั่วไปตามตำบลหมู่บ้านต่างๆ ปัจจุบันมีหมู่บ้านที่ได้รับบริการกระแสไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน
ประปา
ปัจจุบันการประปาในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อยู่ในความรับผิดชอบของการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดลำปางเป็นบางส่วน และมีการจัดทำประปาหมู่บ้าน และใช้น้ำบาดาลจากการขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภค
ด้านเศรษฐกิจ
จากสภาพทำเลที่ตั้งของเทศบาลมืองเขลางค์นคร และมีทางหลวงแผ่นดินเชื่อมระหว่างจังหวัดตัดผ่านหลายสาย สภาพเศรษฐกิจท้องถิ่นสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท กล่าวคือ
เกษตรกรม : ประชาชนส่วนใหญ่ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจะทำการเพาะปลูกข้าว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และแตงโม โดยพื้นที่ทำการเกษตรจะกระจายอยู่ทุกตำบล
อุตสาหกรรม : ส่วนใหญ่ประกอบอุตสาหกรรมผลิตเซรามิค เครื่องปั้นดินเผา และอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิเช่น อุสาหกรรมผลิตอาหารกระป๋อง, อุตสาหกรรมกลึงและแกะสลักไม้, อุตสาหกรรมทำเส้นก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น โดยมีจำนวนโรงงานในเขตพื้นที่ของเทศบาลเมืองเขลางค์นคร รวมทั้งสิ้น 231 แห่ง
พาณิชยกรรม : ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร และประชาชนต่างจังหวัดที่เดินทางท่องเที่ยว แวะพักมีจำนวนสูง จึงทำให้เกิดการประกอบพาณิชยกรรมประเภทร้านอาหาร จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคเกิดขึ้นอย่างหนาแน่น ทั้งในบริเวณตำบลพระบาท, ตำบลชมพู และตำบลปงแสนทอง โดยอัตราเฉลี่ยการประกอบพาณิชยกรรมประมาณ 30% ของประชากรทั้งหมด
การศึกษา
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร ไม่มีสถานศึกษาในสังกัด แต่ได้ให้การสนับสนุนสถานศึกษาที่ตั้งอยู่เขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ดังนี้
1.โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขคพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1 จำนวน 11 แห่ง
2.โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน 1 แห่ง
3.โรงเรียนสังกัดกรมอาชีวศึกษา จำนวน 1 แห่ง
4.โรงเรียนพาณิชยการเอกชน จำนวน 1 แห่ง
5.มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง จำนวน 2 แห่ง
นอกจากนี้เทศบาลมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรับผิดชอบอยู่จำนวน 11 แห่ง ดังนี้
1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไร่นาน้อย หมู่ที่ 5 ตำบลปงแสนทอง
2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาด หมู่ที่ 7 ตำบลปงแสนทอง
3.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่ากล้วย หมู่ที่ 4 ตำบลปงแสนทอง
4.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฟ่อน หมู่ที่ 2 ตำบลชมพู
5.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศรีหมวดเกล้า หมู่ที่ 4 ตำบลชมพู
6.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโทกหัวช้าง หมู่ที่ 4 ตำบลพระบาท
7.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุญเกิด หมู่ที่ 4 ตำบลพระบาท
8.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองห้า หมู่ที่ 4 ตำบลพระบาท
9.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวัดม่อนจำศีล หมู่ที่ 4 ตำบลพระบาท
10.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผาลาด หมู่ที่ 4 ตำบลพระบาท
11.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดกล้วยหลวง หมู่ที่ 4 ตำบลกล้วยแพะ
12.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองยาง หมู่ที่ 8 ตำบลชมพู
ศาสนา
ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและนับถือศาสนาคริสต์ อิสลาม พราหม์ ฮินดู ซิกซ์ เป็นบางส่วน
– วัดในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร จำนวน 45 แห่ง
– สำนักสงฆ์ จำนวน 3 แห่ง
– โบสถ์คริสเตียน จำนวน 4 แห่ง
– ศูนย์โยเร จำนวน 1 แห่ง
ประเพณีวัฒนธรรม
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร มีขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตกาล มีภาษาท้องถิ่นของชาวไทยล้านนา ประเพณีที่สำคัญ คือ
– ประเพณีการบวช
– ประเพณีเรียกขวัญ
– ประเพณีปี๋ใหม่เมือง (ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี)
– การฟ้อนผี เดือน 5 – เดือน 7 เหนือ (ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน)
– การทอดกฐินผ้าป่า
– ประเพณีตานก๋วยสลาก (สลากภัตร) ระหว่างเดือนสิบสองเป็ง (วันเพ็ญเดือนสิบสอง) – เดือนเกี๋ยงเป็ง (วันเพ็ญเดือนสิบเอ็ด)
– ประเพณีลอยกระทง
– การทำบุญถวายเทียนพรรษา
– ประเพณีตานข้าวใหม่
การสาธารณสุข
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร ไม่มีสถานบริการสาธารณสุขในความดูแล แต่มีกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีบุคลากรทางด้านสาธารณสุขอยู่จำนวน 7 คน รับผิดชอบงานตามภารกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของประชาชน ประกอบด้วย งานส่งเสริมสุขภาพ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่องานสัตวแพทย์ และงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ โดยมีเครือข่ายการดำเนินงานด้านสาธารณสุข คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ จำนวน 7 แห่ง มีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อยู่จำนวน 1,451 คน นอกจากนี้ยังได้รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด การควบคุมมลพิษ การเก็บขนขยะมูลฝอย การกำจัดขยะมูลฝอย และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
ทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม
แหล่งน้ำ แม่น้ำสำคัญที่ไหล่ผ่านเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร คือ แม่น้ำวัง ไหลผ่านช่วงตำบลปงแสนทอง และตำบลชมพู เป็นระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังมีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร อาทิ ห้วยพูนก ห้วยป่านาด ทะเลสาบวังเฮือ สถานีสูบน้ำลำปางกลางตะวันตก สถานีสูบน้ำบ้านวังแคว้ง และโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าของกลุ่มทำนาบ้านกล้วย
ขยะมูลฝอย ขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นครปัจจุบันเทศบาลฯ ดำเนินการจัดเก็บขยะเอง มีปริมาณ 40-45 ตันต่อวัน และจ้างเหมาเอกชนในการกำจัดขยะ โดยมีบ่อกำจัดตั้งอยู่ในตำบลกล้วยแพะจากการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจมีการประกอบกิจการพาณิชย์และอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น มีการขยายตัวของชุมชนและการตั้งบ้านเรือนเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณขยะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี