ตราสัญลักษณ์

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลชมพูพร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น “เทศบาลเมืองเขลางค์นคร” สืบเนื่องจากเทศบาลมีจำนวนประชากร ขนาดพื้นที่และจำนวนรายได้ที่เข้าหลักเกณฑ์ ต้องเลื่อนจากเทศบาลขนาดเล็ก ขึ้นมาเป็นเทศบาลขนาดกลางพร้อมๆ กับได้จัดทำตราสัญลักษณ์ขึ้นมาใหม่
สำหรับดวงตราสัญลักษณ์นี้ได้รับความกรุณาจากผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ผู้ทรงภูมิปัญญา ผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนต่าง ๆ ร่วมระดมสมองพิจารณาคัดเลือก จนได้ดวงตราสัญลักษณ์ ที่สวยงามและมีความหมาย ดังนี้
ดวงอาทิตย์และรัศมี? หมายถึงความสว่างไสวของแสงอาทิตย์จนเกิดประกายส่องแสงอย่างรุ่งโรจน์ ซึ่งแสดงถึงเมืองที่กำลังเจริญรุ่งเรืองไปด้วยแหล่ง อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาจนสามารถส่งไปแข่งขัน ยังต่างแดน
องค์ธาตุ หมายถึงเมืองที่มีพุทธศาสนาประจำอยู่ ซึ่งได้บรรจุพระสารีริกธาตุขององค์พระศาสดาไว้ เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งประกอบด้วย พระรัตนตรัยอันมีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมคำสอน และพระสงฆ์ที่เป็นสาวกขององค์พระศาสดา เพื่อที่จรรโลงสืบสานพุทธศาสนา ตลอดไป
ฐานองค์ธาตุจำนวน 4 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้น หมายถึง ความมั่นคง แข็งแรง และความเข้มแข็งของพื้นที่ทั้ง 4 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลชมพู ตำบลปงแสนทอง ตำบลพระบาทและตำบลกล้วยแพะ ที่มีความมั่นคงเข้มแข็งในทุก ๆ ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เช่นวิถีชีวิตความเป็นอยู่วัฒนธรรม แหล่งอารยธรรมรวมทั้งแหล่งอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วไปในพื้นที่ ทั้ง 4 ตำบล
ภูเขา หมายถึงแหล่งต้นกำเนิดที่เป็นที่ตั้งของเมืองเขลางค์นครสมัยแรกเริ่ม ที่อุดมไปด้วยทรัพยากรป่าเขาลำเนาไพร แม่น้ำใหญ่น้อยหลายสาขาที่ไหลมา บรรจบลงในลำน้ำแม่วังปัจจุบัน ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เพื่อใช้หล่อเลี้ยงชีพชาวเมืองเขลางค์นครในอดีตที่ผ่านมา
รูปหอยสังข์ หมายถึงเส้นอาณาเขตปกครองของเมืองเขลางค์นครยุคแรกที่ตั้งเมือง ที่มีลักษณะเป็นรูปวงรีๆ คล้ายรูปหอยสังข์ ซึ่งสมัยพระนางจามเทวี ธิดากษัตริย์ละโว้เสด็จมาครองเมืองหริภุญชัยราว พ.ศ.1203 ซึ่งต่อมาทรงสร้างเมืองเขลางค์นครให้เจ้าอนันตยศราชโอรสแฝดของพระองค์ให้มาครองเมือง และสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1223
รถม้าพร้อมสารถี หมายถึงผู้นำท้องถิ่นที่สามารถขับเคลื่อนหรือบริหารบ้านเมืองไปพร้อมกันทุกๆ ด้านเช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง มั่นคง และรวดเร็วประดุจม้าที่เทียมรถและ ทยานตัวออกไป และรถม้าเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดลำปางจากอดีตถึงปัจจุบัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า