วิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์การพัฒนา
วิสัยทัศน์เทศบาลเมืองเขลางค์นคร
“เมืองแห่งคุณภาพ”
(คุณภาพคน คุณภาพชีวิต คุณภาพการบริหารจัดการ)
ยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1.จัดการศึกษาระดับปฐมวัยให้มีคุณภาพ
2.ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมและเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ
3.สนับสนุนการจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษา สำหรับเด็กระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา
ตัวชี้วัด
- จำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ ดีมาก
- ระดับความสำเร็จของเด็ก เยาวชนและประชาชน ในการร่วมกิจกรรมการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมสู่คุณภาพ
- ร้อยละของจำนวนเด็กและเยาวชนในพื้นที่ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรม
- จำนวนสถานศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนการจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษา สำหรับเด็กระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา
กลยุทธ์
- พัฒนาการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ให้เป็นไปตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
- ส่งเสริมการศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ให้มีโอกาสเรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
- ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตให้แก่เด็กและเยาวชน โดยจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ตามความต้องการ ของแต่ละบุคคล
- สนับสนุนการจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาสำหรับเด็กระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา
2.ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดีครอบคลุมทั้งด้านกาย ใจ สติปัญญา และสังคม
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1.เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ การป้องกัน และควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามต่อสุขภาวะ
2.เพื่อให้ชุมชนเป็นฐานในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี
3.เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่มีทีมสนับสนุนการสร้างสุขภาวะที่ดี
4.เพื่อการกระจายบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
5.เพื่อพัฒนาและสร้างระบบ รับมือ ปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำที่เกิดจาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
กลยุทธ์
- การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ การป้องกัน และควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามต่อสุขภาวะ
- พัฒนาคุณภาพการให้บริการสุขภาพและการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขในทุกกลุ่มวัย
- พัฒนาและสร้างระบบ รับมือ ปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
- การให้ชุมชนเป็นฐานในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี
- เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายและจิตอาสาด้านสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข
- เพิ่มอัตรากำลังและประสิทธิภาพบุคลากรด้านสาธารณสุข
- เพิ่มวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอควบคุมการบริการด้านสาธารณสุข
ตัวชี้วัด
- อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี
- ร้อยละของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าร่วมกิจกรรมการดูแลสุขภาพอนามัย
- ร้อยละของความพึงพอใจในการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่
- ร้อยละของประชาชนเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขทุกกลุ่มวัย
- ร้อยละของผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกายและจิตใจอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และความเข้มแข็งของชุมชน การรักษาความสงบภายในและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1.ประชาชนในชุมชนมีความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ
2.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีความพร้อมสามารถปรับตัวเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
3.เสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาประสิทธิภาพเครือข่ายการเกษตรปลอดภัย
4.เสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5.เพิ่มขีดความสามารถด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความสงบและความปลอดภัยในเขตพื้นที่ของเทศบาล
ตัวชี้วัด
- ร้อยละความพึงพอใจต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้านการจัดสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
- จำนวนกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ
- ระดับความสำเร็จของการขยายฐานของเครือข่ายครัวเรือนการเกษตรปลอดภัย
- ร้อยละของชุมชนที่มีผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการสู่ชุมชนเข้มแข็ง
- ระดับความสำเร็จของการจัดการความเสี่ยง ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความปลอดภัยในเขตพื้นที่เทศบาลที่มีมาตรฐานที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด
กลยุทธ์
- เสริมสร้างและพัฒนาความสามารถของประชาชน กลุ่ม องค์กร ให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม มีคุณภาพ มีคุณค่า สามารถปรับตัวเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง
- ส่งเสริมความเข้มแข็ง กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มเครือข่ายทุกระดับ
- ส่งเสริมพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตรทั้งระบบและเพิ่มขีดความสามารถของภาคเกษตร ให้เข้มแข็งและยั่งยืน
- ส่งเสริมและสนับสนุนประชาชนทุกช่วงวัยให้เข้าถึงสวัสดิการสังคมอย่างเป็นธรรม และทั่วถึง
- พัฒนา และจัดระเบียบสังคมเพื่อเสริมสร้างสังคมให้อยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ที่กำหนด
- พัฒนาการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยและความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด
4.ยุทธศาสตร์การทำนุ บำรุงศาสนา ส่งเสริมและสืบสาน ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น กีฬา นันทนาการ และการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1.เด็ก เยาวชน และประชาชน มีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศาสนา ส่งเสริมและสืบสาน ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.ชุมชนได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยว
3.เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการกีฬา และจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
ตัวชี้วัด
- ระดับความสำเร็จในการทำนุบำรุงศาสนา ส่งเสริม และสืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- โครงการด้านการส่งเสริม และสืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 3 โครงการที่ชุมชุนเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ
- จำนวนแหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
- ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการ
กลยุทธ์
- ส่งเสริมการจัดกิจกรรมทำนุ บำรุง ศาสนาให้ยั่งยืน
- อนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในชุมชน
- ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน
- ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเด็ก เยาวชน และประชาชน ในด้านกีฬาและนันทนาการ
5.ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.เพื่อบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สภาพแวดล้อมของชุมชนมีคุณภาพดีขึ้นอย่างยั่งยืน
3.เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
ตัวชี้วัด
- ร้อยละของการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ระดับความพึงพอใจในการจัดการสิ่งแวดล้อม
- คุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
- ร้อยละชุมชนน่าอยู่สวยงามมากกว่าหรือเท่ากับ
- ร้อยละของแม่น้ำลำคลอง แหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่มีสิ่งรุกล้ำผิดกฎหมายมากกว่าหรือเท่ากับ
กลยุทธ์
- อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ
- เพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพชุมชนให้เข้มแข็งในการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของชุมชน
- เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะ น้ำเสียชุมชน และแหล่งน้ำสาธารณะ
- ปรับปรุงภูมิทัศน์ และพัฒนาระบบบำรุงรักษาภูมิทัศน์ของเมืองอย่างยั่งยืน
- ส่งเสริม สนับสนุนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนของชุมชนบนสังคม เศรษฐกิจสีเขียว
- เสริมสร้างเครือข่ายและจิตอาสา ในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน เป็นชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือ อุปกรณ์ ในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
- การอนุรักษ์ ฟื้นฟู แม่น้ำลำคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติ
6.ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และสาธารณูปการที่มีคุณภาพรองรับการขยายเมือง
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1.ประชาชนสัญจรไปมาสะดวก ปลอดภัย มีน้ำอุปโภคบริโภค มีไฟฟ้าทุกครัวเรือน มีสาธารณูปการครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีความพึงพอใจในการบริการมากที่สุด
2.มีระบบข้อมูลการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.มีการจัดทำ/ปรับปรุงผังเมืองรวมเมือง และผังเมืองรวมชุมชน แสดงประโยชน์การใช้ที่ดิน
ตัวชี้วัด
- ร้อยละโครงการถนนปลอดภัยที่ก่อสร้าง ปรับปรุง
- จำนวนครัวเรือนที่มีน้ำอุปโภคและบริโภค
- จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้
- ร้อยละโครงการสร้าง/ปรับปรุงสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น และสวนสุขภาพ
- ร้อยละของจำนวนเส้นทางคลองและลำธารสาธารณะระบายน้ำในความรับผิดชอบที่ได้รับการปรับปรุงให้น้ำสามารถไหลผ่านได้ไม่ติดขัด
- จำนวนระบบข้อมูลการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานฯ
- ระดับความพึงพอใจด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ
กลยุทธ์
- ก่อสร้าง ปรับปรุง ถนน สะพาน ทางเท้า และระบบระบายน้ำ
- พัฒนาแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคให้ครอบคลุมทุกครัวเรือน และพัฒนาแหล่งน้ำสาธารณะ ให้สะอาด และน้ำสามารถไหลผ่านได้ไม่ติดขัด
- ส่งเสริม/สนับสนุนการขยายเขตประปา ขยายเขตไฟฟ้า และการติดตั้งไฟส่องสว่าง
- สร้างและปรับปรุงสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น สวนสุขภาพ อาคารอเนกประสงค์และลานอเนกประสงค์ เพื่อการนันทนาการ
- พัฒนาฐานข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐานทุกภารกิจ
- จัดทำ/ปรับปรุงผังเมืองรวมเมือง และผังเมืองรวมชุมชน
7.ยุทธศาสตร์การบริหารองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
1.มีการบริหารงานองค์กรตามมาตรฐานที่หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกำหนด
2.ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารสำคัญของเทศบาลอย่างทั่วถึง มีเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ ๆ สำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้รับบริการและมีความพึงพอใจในการให้บริการเพิ่มขึ้น
3.รายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มมากขึ้น
ตัวชี้วัด
- ค่าคะแนนผลการประเมินประสิทธิภาพ (LPA.) ของเทศบาลเมืองเขลางค์นคร
- ค่าคะแนนผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA.)
- จำนวนประชาชนที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารของเทศบาลเพิ่มขึ้น
- จำนวนเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้รับบริการ
- ผลสำเร็จของการจัดเก็บรายได้ของเทศบาล
- ร้อยละของระดับความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการในภาพรวม
กลยุทธ์
- พัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ
- จัดให้มีช่องทางการสื่อสารกับประชาชนในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข่าวสารและกิจกรรรมอย่างทั่วถึง
- พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ประหยัด มีส่วนร่วม โปร่งใส เป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาล