โรคต้อกระจก โรคทางตา เกิดขึ้นได้อย่างไร รักษาได้หรือไม่

โรคต้อกระจก คือ ภาวะแก้วตาเสื่อม ซึ่งปรกติแก้วตาจะใส แต่แก้วตากลับขุ่น การที่แก้วตาที่ขุ่นลง   มีผลให้กำลังเกิดการขัดขวางไม่ให้แสงเข้าตา การมองเห็นภาพไม่ชัด โรคต้อกระจกนี้ เป็นโรคทางตา ที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ต้อกระจกเกิดจากอะไร และรักษาอย่างไร เรารวบรวมความรู้โรคตามาเสนอต่อท่านตามความรู้ด้านล่างแล้ว

2

สาเหตุของภาวะแก้วตาขุ่น หรือ โรคต้อกระจก มีหลายสาเหตุแตกต่างกันออกไปตามช่วงอายุของผู้ป่วย ในผู้ป่วยที่มีต้อกระจกโดยกำเนิด เกิดจากมารดาติดหัดเยอรมันในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือบางทีเป็นกรรมพันธุ์ และ โภชนาการของเด็กไม่ดี เรียกว่าขาดสารอาหาร ในผู้ป่วยต่อกระจกในช่วงวัยรุ่น อาจเกิดจากอุบัติเหตุ ที่ถูกกระทบกระเทือนดวงตาอย่างรุนแรง ในบางครั้งต้อกระจกจะเกิดขึ้นหลังจากเกิดอุบัติเหตุแล้ว 2-3 ปี ในผุ้ป่วยวัยกลางคนขึ้นไป พบว่าสาเหตุของต้อกระจกมาจาก โรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคที่เกิดกับดวงตา ไม่ว่าจะเป็น ม่านตาอักเสบ หรือโรคอื่นๆทางตา  และการใช้ลาในกลุ่มสเตียรอยด์ เช่น ยาเพรดนิโซโลน Predisposition ซึ่งเป็นยาสำหรับรักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหืด โรคไต และโรคข้อ

3

เป็นต้อกระจกมีอาการอย่างไร  คือ สายตาจะค่อยๆมัวลงทีละน้อย ไม่มีอาการปวดตา ไม่มีอาการตาแดง และสายตาจะมัวมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงสว่างมาก อาการสายตามัวในเวลากลางวันและมองเห็นชัดในเวลากลางคืน มีฝ้าขาวบริเวณม่านตา หากเห็นว่ามีอาการลักษณะนี้ ควรพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจอาการและรักษาได้ทันท่วงที

4

การรักษาต้อกระจก : การรักษาต้อกระจกทำได้โดยการผ่าตัดนำเลนส์แก้วตาที่ขุ่นออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ โดยวิธีการผ่าตัดที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่

– การสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (phacoemulsification)

 

การดูแลสุขภาพดวงตา

– นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

– รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

– พักสายตาเป็นระยะหากต้องใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานาน

– สวมแว่นกันแดดที่กรองแสงอัลตราไวโอเลต ไม่จ้องมองดวงอาทิตย์โดยตรง

– หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา อย่าให้ดวงตาโดนกระแทก

– ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปควรตรวจสุขภาพตาทุกปี

แหล่งที่มา คอลัมน์ โรคไม่ติดต่อ โรคต้อกระจก http://beezab.com/

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า