สืบสาน “ประเพณีล่องสะเปาและของดีเมืองเขลางค์นคร ประจำปี 2567” (ชุมชนบ้านฟ่อน) หลังออกพรรษา 1 วัน
สืบสาน “ประเพณีล่องสะเปาและของดีเมืองเขลางค์นคร ประจำปี 2567” (ชุมชนบ้านฟ่อน) หลังออกพรรษา 1 วัน
วันที่ 18 ตุลาคม 2567 เวลา 20.00 น. นายไพฑูรย์ โพธิ์ทอง นายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร ประธานในพิธีเปิดงาน“ล่องสะเปาและของดีเมืองเขลางค์นคร ” ตามโครงการจัดงานประเพณีล่องสะเปาและของดีเมืองเขลางค์นคร ประจำปี 2567 พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล คณะที่ปรึกษานายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร และหัวหน้าส่วนราชการ ณ บริเวณสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา (ริมน้ำวัง) ชุมชนบ้านฟ่อน ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และได้ให้เกียรติมอบรางวัลการประกวดแข่งขันขบวนแห่สะเปาวิถีชุมชน ดังนี้
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ คณะศรัทธาวัดชมภูหลวง
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ชุมชนบ้านต้า
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ป้าปี๋ ล้านนาปาร์ค
มอบรางวัลการแข่งขันการประกวดประดิษฐ์สะเปาเล็ก รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมหนุ่มน้อยสร้างสรรค์
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ทีมเก็ดคะหวา
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ทีมละอ่อนกีฬาชมพู
มอบรางวัลการแข่งขันการประกวดประดิษฐ์สะเปาเล็ก รุ่นประชาชนทั่วไป
– รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมสะเปาพญาลวง
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ทีมรวมใจสร้างสรรค์
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ทีมอ๊อดไก่ซิ่ง
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร ขอขอบคุณทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
– ขบวนแห่สะเปา “วิถีชุมชน” 7 ขบวน จากภาคประชาชนและกลุ่มองค์กร
– สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง
– สถานีตำรวจภูธรเขลางค์นคร
– สื่อมวลชน
– โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา
– คณะกรรมการชุมชนบ้านฟ่อน
– กู้ภัยอัมรินทร์
– วงดนตรีพื้นเมืองศูนย์ผู้สูงวัยเทศบาลเมืองเขลางค์นคร
– หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และกลุ่มองค์กรต่างๆ
ในการร่วมบูรณาการความร่วมมือเพื่ออนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นไว้ให้คงอยู่สืบไป โดยภายในงานมีขบวนแห่รถสะเปาทั้งจากตัวแทนของชุมชนบ้านฟ่อน และจากกลุ่มชุมชนรวมไปจนถึงกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน มีการประกอบพิธีทางศาสนา พิธีตานน้ำ (สักการะยอคุณแม่น้ำวัง) ซึ่งเป็นสายน้ำ ที่ไหลหล่อเลี้ยงชุมชนมายาวนาน และนำสะเปาล่องแม่น้ำวัง ซึ่งถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษที่มีชีวิตผูกพันกับสายแม่น้ำวังจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีประชาชนร่วมกิจกรรมอย่างคับคั่ง