กิจกรรมการดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ประจำเดือนเมษายน 2567

วันที่ 29 เมษายน 2567 นางจุฑารัตน์ ทิพย์ชู เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลปงเเสนทอง แจ้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านการเกษตร เรื่อง การเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวปี พ.ศ. 2567              หลักเกณฑ์และคุณสมบัติของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีดังนี้ คือ

  1. เป็นครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร ฤดูนาปี 2566/2567 และไม่ได้รับความช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าวจากหน่วยงานของกรมการข้าวในปี พ.ศ. 2566-2567
  2. เกษตรกรรวมกลุ่มกันสมัครผ่านผู้นำชุมชน อาสาสมัครเกษตรกรหมู่บ้าน (อกม.) เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ประธานศูนย์ข้าวชุมชน ชาวนาอาสา หรือ เกษตรกรสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการโดยตรงกับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ในพื้นที่ โดยเกษตรกรแต่ละรายจะได้รับการช่วยเหลือตามพื้นที่ปลูกจริงที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร โดยเอกสาร           ที่ใช้ประกอบใบสมัคร สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนเกษตรกร และสำเนาสมุดเล่มเขียว หน้าแรก (หน้าที่มีรูปถ่ายตนเอง) และหน้าการประกอบกิจกรรมข้าว ปี พ.ศ. 2566 (อัพเดตข้อมูลสมุดได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง)

เงื่อนไขการสมัคร

– ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ อัตราไร่ละไม่เกิน 15 กิโลกรัม รายละไม่เกิน 450 กิโลกรัม

– เกษตรกร 1 ราย สามารถเลือกได้ 1 ชนิดพันธุ์

– ในแต่ละกลุ่มสามารถเลือกได้ไม่เกิน 2 ชนิดพันธุ์

– พันธุ์ข้าวที่ร่วมโครงการ (สันป่าตอง 1 กิโลกรัมละ 4 บาท กข 6 กิโลกรัมละ 4 บาท

และขาวดอกมะลิ 105 กิโลกรัมละ 5 บาท)

สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ปี พ.ศ. 2566 แล้ว ไม่สามารถเข้าร่วมได้ ทั้งนี้สามารถรวบรวมใบสมัครและเอกสารส่งที่กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปาง หรือสอบถามรายละเอียด เบอร์โทร 054-829791 ต่อ 14

วันที่ 3 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชมพู ประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครผู้สนใจที่จะสร้างอาชีพ สร้างรายได้เพิ่มอีก 1 ช่องทาง ไม่มีพื้นฐานก็เรียนได้ โดยฝึกอาชีพฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เรียนฟรี มีที่พัก อาหารฟรี ตลอดหลักสูตร *เมื่อมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครครบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะมีการประกาศรายชื่อให้ทราบทางหน้าเพจของหน่วยงาน โดยสมัครและติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : 0 5482 9709 หรือ 0 5482 9734  กลุ่มส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพ (ในวันและเวลาราชการ)

วันที่ 4 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชมพู แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการอัตราค่าขนส่ง “ลดพิเศษ” ผลผลิตทางการเกษตรภาคเหนือ ประจำปี พ.ศ. 2567 “พาณิชย์ จับมือ Kerry Express” มอบส่วนลดค่าบริการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรแก่เกษตรกร/ผู้ประกอบการ SMEs จังหวัดลำปาง ซึ่งสินค้าที่สมัครเข้าร่วมโครงการได้เป็นผักและผลไม้ทุกชนิด ประเภทสดและแปรรูป ยกเว้นสตอเบอร์รี่สด  โดยคุณสมบัติผู้สมัคร : เกษตรกร สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่/วิสาหกิจชุมชน/

สหกรณ์การเกษตร/สมาคม ของจังหวัดลำปาง ระยะเวลาโปรโมชั่น :  ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม – 31 ธันวาคม 2567 โควตา 30 ราย/จังหวัด และสามารถออนไลน์ได้ที่ https://forms.gle/oLrztzVha9UfKGfp6

วันที่ 16 เมษายน 2567 นายถนอม กองนาค รองประธานคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชมพู แจ้งประชาสัมพันธ์ เรื่อง 5 อาหารล้างพิษและ 5 อาหารทำลายตับ             ไวที่สุด โดยสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=NdhrtDUVxiU

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายศรีทน ติ๊บมูล คณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชมพู แจ้งการเปิดประตูฝายน้ำแม่ปูน เพื่อใช้ในการทำการเกษตร

วันที่ 23 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชมพู แจ้งประชาสัมพันธ์การทำแปลงผักแบบยกแคร่

วันที่ 24 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชมพู แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริม การเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว ปี พ.ศ. 2567 หลักเกณฑ์และคุณสมบัติของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีดังนี้ คือ

  1. เป็นครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร ฤดูนาปี 2566/2567 และไม่ได้รับความช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าวจากหน่วยงานของกรมการข้าวในปี พ.ศ.    2566 – 2567
  2.   เกษตรกรรวมกลุ่มกันสมัครผ่านผู้นำชุมชน อาสาสมัครเกษตรกรหมู่บ้าน (อกม.) เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ประธานศูนย์ข้าวชุมชน ชาวนาอาสา หรือ เกษตรกรสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการโดยตรงกับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวในพื้นที่ โดยเกษตรกรแต่ละรายจะได้รับการช่วยเหลือตามพื้นที่ปลูกจริงที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร โดยเอกสารที่ใช้ประกอบใบสมัคร สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนเกษตรกร และสำเนาสมุดเล่มเขียว หน้าแรก (หน้าที่มีรูปถ่ายตนเอง) และหน้าการประกอบกิจกรรมข้าว ปี พ.ศ. 2566 (อัพเดตข้อมูลสมุดได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง)

เงื่อนไขการสมัคร

– ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ อัตราไร่ละไม่เกิน 15 กิโลกรัม รายละไม่เกิน 450 กิโลกรัม

– เกษตรกร 1 ราย สามารถเลือกได้ 1 ชนิดพันธุ์

– ในแต่ละกลุ่มสามารถเลือกได้ไม่เกิน 2 ชนิดพันธุ์

– พันธุ์ข้าวที่ร่วมโครงการ (สันป่าตอง 1 กิโลกรัมละ 4 บาท กข 6 กิโลกรัมละ 4 บาท

และขาวดอกมะลิ 105 กิโลกรัมละ 5 บาท)

สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ปี พ.ศ. 2566 แล้ว ไม่สามารถเข้าร่วมได้ ทั้งนี้สามารถรวบรวมใบสมัครและเอกสารส่งที่กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปาง หรือสอบถามรายละเอียด เบอร์โทร 054-829791 ต่อ 14

 

วันที่ 25 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชมพู แจ้งประชาสัมพันธ์การเก็บตัวอย่างดินเพื่อส่งวิเคราะห์โดยแบ่งดินเก็บตามสภาพพื้นที่

– เก็บดินให้ทั่ว 5- 10 จุด

– เก็บดินทั้ง 4 ทิศ ที่ความลึก 0 – 15 และ 15 – 30 เซนติเมตร

– กำจัดวัชพืชและตักดินให้เป็นรูปตัว V คลุกเคล้าให้เข้ากัน แบ่งเป็น 4 ส่วน นำ 1 ส่วน ประมาณ 1 กิโลกรัม ใส่ถุงพลาสติก เขียนชื่อ สถานที่และบริเวณที่เก็บดินเพื่อส่งวิเคราะห์

 

วันที่ 26 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชมพู แจ้งประชาสัมพันธ์เรื่องข้าววัชพืช ซึ่งมี 2 ชนิดที่ต้องกำจัด คือข้าวหาง และข้าวดีด

วิธีป้องกัน

– เลือกใช้เมล็ดพันธุ์มาตรฐาน ไม่มีข้าวดีด ข้าวเด้งปลอมปน

– ทำความสะอาดเครื่องจักร และอุปกรณ์ทุกครั้งก่อนการปฏิบัติงานในนาข้าว

– เลือกใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ที่ไม่มีส่วนผสมที่มาจากนาข้าว

– ปล่อยเป็ดไล่ทุ่งเข้ามากินเมล็ดข้าวดีด ข้าวเด้ง หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต

– กำจัดด้วยวิธีเขตกรรม เช่น ล่อให้เมล็ดข้าวดีด ข้าวเด้งงอกแล้วไถกลบ 1 – 3 ครั้ง

– เปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวจากนาหว่าน เป็นนาดำ หรือการปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้า

– กำจัดด้วยการใช้สารกำจัดวัชพืช เช่น กลูโฟซิเนต – แอมโมเนียม

วันที่ 29 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชมพู แจ้งคณะกรรมการศูนย์บริการฯ ดังนี้

  1. สำรวจเกษตรกรผู้ปลูกไผ่และต้นจามจุรี (ฉำฉา) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ คือ  นายถนอม กองนาค รองประธานศูนย์บริการฯ แจ้งว่า มีผู้ปลูกไผ่ จำนวน 2 ราย พื้นที่ปลูกรายละ 2 งาน และผู้ปลูกจามจุรี (ฉำฉา) จำนวน 2 ราย พื้นที่ปลูกรายละ 2 ไร่

2. แจ้งเตือนเกษตรกรเฝ้าระวัง หนอนปลอกเล็กในต้นปาล์มน้ำมันและมะพร้าว โดยมีลักษณะดังนี้

รูปร่างลักษณะ ตัวเต็มวัยหนอนปลอกเล็กเป็นผีเสื้อกลางคืน ระยะหนอนเป็นระยะ ที่ทำให้เกิดความเสียหาย โดยหนอนจะเริ่มแทะผิวใบปาล์มน้ำมันผสมกับใยที่ขับออกมาจากปาก นำมาสร้างปลอกห่อหุ้มตัวเอง ปลอกมีช่องเปิด 2 ทาง ช่องเปิดด้านบนสำหรับโผล่หัวออกมาแทะกินใบพืช ส่วนด้านล่างสำหรับเป็นช่องขับถ่าย ระยะหนอนใช้เวลาประมาณ 92 – 124 วัน มีแพร่กระจายโดยลม

ลักษณะการทำลาย หนอนปลอกเล็กจะแทะผิวใบ ทำให้ใบแห้งเป็นสีน้ำตาล และกัดทะลุใบเป็นรูขาดแหว่ง ถ้าเข้าทำลายรุนแรงจะเห็นทางใบทั้งต้นเป็นสีน้ำตาลแห้ง ลำต้นชะงัก การเจริญเติบโตผลผลิตลดลงหรือไม่ได้ผลผลิต

วิธีการป้องกันกำจัด

– หมั่นสำรวจสวนปาล์มน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ

– ตัดทางใบปาล์มน้ำมันที่พบการทำลาย นำไปเผาทำลายเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่พันธุ์

– พ่นด้วยเชื้อบีที (Bacillus thuringiensis) อัตรา 100 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบ 5 มิลลิลิตร พ่นให้ทั่วบริเวณใต้ใบ และต้องพ่นในช่วงเย็น โดยพ่นติดต่อกันไม่น้อยกว่า  3 ครั้ง และควรห่างกัน 5 – 7 วัน

– ใช้สารเคมี พ่นด้วยสารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งผสมน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นทางใบ 1 – 2 ครั้ง  ห่างกัน 15 วัน ตามคำแนะนำดังนี้

1) ฟลูเบนไดเอไมด์ 20% WG (สารกลุ่ม 28) อัตรา 5 กรัม

2) คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC (สารกลุ่ม 28) อัตรา 20 มิลลิลิตร

3) ลูเฟนนูรอน 5% EC (สารกลุ่ม 15) อัตรา 20 มิลลิลิตร

คำแนะนำ การใช้สารเคมีต้องปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้สารเคมีอย่างเคร่งครัด และต้องสวมชุดและอุปกรณ์ป้องกันตัวเองเพื่อป้องกันอันตราย

  1. แจ้งประชาสัมพันธ์เรื่องพันธุ์ข้าว “พันธุ์​ข้าว​เจ้าและข้าวเหนียว​” สามารถสแกนดูรายละเอียดได้ที่ QR Code

ข้าวเจ้า นาปรังและนาปี มีดังนี้

– หอมพวง#5    – แม่โจ้9          – หอมพวง #20  – กข.95         – หอมปทุม                                                        – พิษณุโลก2      – ชัยนาท1       – กข.85          – กข.63          – กข.61

– กข.47          – กข.49          – กข.57          – กข.93          – กข.41

– กข.43          – กข.31          – กข 89          – 5451          – ข้าวหอมธรรมศาสตร์

– 8/2             – กข.29          – MGC1          – กข79           – ข้าวเบอร์ตอง999

– หอมใบเตย      – หอมมะลิ105 – กข 15          – หอมสยาม      – กข51

ข้าวเหนียว นาปรังและนาปี

– สันป่าตอง1    – กข.14                    – หอมนาคา      – CP35          – เวสสันตระ

– แม่โจ้2          – กข10 ธรรมดา          – CP888        – กข6 เตี้ย       – กข 22

– น่าน 59        – กข12 (หนองคาย 80) – เขี้ยวงู           – กข.6สูง         – กข18

– หอมวิสุทธิ์      – ข้าวเหนียวลืมผัว         – หอมนางนวล   – ธัญสิริน      

วันที่ 30 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชมพู แจ้งประชาสัมพันธ์ รับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ “หลักสูตรต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต” ผ่านรายการวิทยุ และระบบออนไลน์ กิจกรรมโรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตรต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต เป็นหลักสูตรที่ต้องการเสริมสร้างความเข้าใจด้านคาร์บอนเครดิตให้กับเกษตรกรและประชาชนที่สนใจ สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเปลี่ยนการปลูกพืชที่ได้รับรายได้หลักทางเดียว เป็นการรับรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตจากการปลูกพืชอีกทางหนึ่ง โดยเรียนรู้ผ่านการรับฟังรายการวิทยุ ของสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร คลื่นความถี่ AM1386KHz และทางเว็บไซต์ www.am1386.com พร้อมเรียนย้อนหลังผ่านทางยูทูปและทำเเบบทดสอบผ่าน Google Classroom  ผู้ผ่านการทดสอบจะได้รับประกาศนียบัตรจากกรมส่งเสริมการเกษตร

2. ประชาสัมพันธ์การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2567 ฤดูฝนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่าจะเริ่มประมาณสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนพฤษภาคม 2567 ซึ่งจะช้ากว่าปกติ  1 – 2 สัปดาห์ และจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนตุลาคม 2567 โดยปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนปีนี้ จะใกล้เคียงค่าเฉลี่ยปกติและใกล้เคียงกับปีที่แล้ว (ปีที่แล้วในช่วงฤดูฝน ปริมาณฝนรวมมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 1 ส่วนปริมาณฝนรวมทั้งปีน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 6) โดยในช่วงครึ่งแรกของฤดูฝน (ตั้งแต่วันเริ่มต้นถึงเดือนกรกฎาคม) ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะใกล้เคียงค่าเฉลี่ยปกติ ส่วนในช่วงครึ่งหลังฤดูฝน (เดือนสิงหาคมถึง ปลายเดือนตุลาคม) ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ประมาณร้อยละ 5 ในช่วงประมาณกลาง เดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย และส่งผลให้เกิดสภาวฝน               ทิ้งช่วง ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ประชาชนจึงควรใช้น้ำเพื่อประโยชน์สูงสุด ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายนและตุลาคม เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุดและมีโอกาสสูง ที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ และก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่ง ได้ในหลายพื้นที่

 

วันที่ 31 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลชมพู แจ้งประชาสัมพันธ์ว่าจังหวัด​ลำปาง​แจ้งให้ทราบว่าในเดือนนี้ ยังมีการตรวจสอบจุดความร้อน (Hotspot) ไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 จึงขอให้ทุกชุมชนช่วยประชาสัมพันธ์​ในช่องทางติดต่อกับเกษตรกร ขอความร่วมมือเกษตรกรหลีกเลี่ยงการเผาในช่วงเดือนนี้

วันที่ 3 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำพระบาท ประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครผู้สนใจที่จะสร้างอาชีพ สร้างรายได้เพิ่มอีก 1 ช่องทาง ไม่มีพื้นฐานก็เรียนได้ โดยฝึกอาชีพฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เรียนฟรี มีที่พัก อาหารฟรี ตลอดหลักสูตร *เมื่อมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครครบตามข้างต้นจะมีการประกาศรายชื่อให้ทราบทางหน้าเพจของหน่วยงาน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยสมัครและติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :0 5482 9709 หรือ 0 5482 9734 กลุ่มส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพ (ในวันและเวลาราชการ)

วันที่ 4 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระบาทโครงการอัตราค่าขนส่ง “ลดพิเศษ”ผลผลิตทางการเกษตรภาคเหนือ ประจำปี 2567 “พาณิชย์ จับมือ Kerry Express” มอบส่วนลดค่าบริการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรแก่เกษตรกร/ผู้ประกอบการ SMEs จังหวัดลำปาง ซึ่งสินค้าที่สมัครเข้าร่วมโครงการได้เป็นผักและผลไม้ทุกชนิด ประเภทสดและแปรรูป ยกเว้นสตอเบอร์รี่สด  คุณสมบัติผู้สมัคร : เกษตรกร สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่/วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์การเกษตร/สมาคม ของจังหวัดลำปาง ระยะเวลาโปรโมชั่น :  ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม – 31 ธันวาคม 2567 โดยโควตา 30 ราย / จังหวัด และสามารถออนไลน์ได้ที่ https://forms.gle/oLrztzVha9UfKGfp6

 

วันที่ 23 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระบาทแจ้งประชาสัมพันธ์การทำแปลงผักแบบยกแคร่

แจ้งประชาสัมพันธ์การทำแปลงผักแบบยกแคร่ ดีอย่างไร?

  • ขั้นตอนการปลูก และดูแลรักษาง่าย
  • สะดวกในการรดน้ำ และควบคุมกำจัดแมลงศัตรูพืช และวัชพืชได้ง่าย
  • ลดความเสี่ยงภัยจากธรรมชาติ สามารถปลูกได้ในที่น้ำท่วม
  • ลดปัญหาวัชพืช โรคพืช และศัตรูพืชบางชนิด
  • สามารถยืนปลูกผักได้ ไม่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ ลดการปวดเมื่อยได้
  • ลดการใช้สารเคมี ทำให้ได้ผลผลิตดี สะอาด มีคุณภาพ
  • ประหยัดพื้นที่ ประหยัดเวลา ผักโตเร็ว

วันที่ 24 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระบาท ประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริม การเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว ปี พ.ศ. 2567 หลักเกณฑ์และคุณสมบัติของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีดังนี้ คือ

  1. เป็นครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร ฤดูนาปี 2566/67 และไม่ได้รับความช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าวจากหน่วยงานของกรมการข้าวในปี 2566-2567
  2. เกษตรกรรวมกลุ่มกันสมัครผ่านผู้นำชุมชน อาสาสมัครเกษตรกรหมู่บ้าน (อกม.) เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ประธานศูนย์ข้าวชุมชน ชาวนาอาสา หรือ เกษตรกรสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการโดยตรงกับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ในพื้นที่ โดยเกษตรกรแต่ละรายจะได้รับการช่วยเหลือตามพื้นที่ปลูกจริงที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร

เอกสารที่ใช้ประกอบใบสมัคร

  1. สำเนาบัตรประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนเกษตรกร
  3. สำเนาสมุดเล่มเขียว หน้าแรก (หน้าที่มีรูปถ่ายตนเอง) และหน้าการประกอบกิจกรรม ข้าว ปี พ.ศ. 2566 (อัพเดตข้อมูลสมุดได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง)
  4. เงื่อนไข- ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ อัตราไร่ละไม่เกิน 15 กิโลกรัม รายละไม่เกิน 450 กิโลกรัม- เกษตรกร 1 ราย สามารถเลือกได้ 1 ชนิดพันธุ์- ในแต่ละกลุ่มสามารถเลือกได้ไม่เกิน 2 ชนิดพันธุ์- พันธุ์ข้าวที่ร่วมโครงการ (สันป่าตอง 1 กิโลกรัมละ 4 บาท กข 6 กิโลกรัมละ 4 บาทและขาวดอกมะลิ 105 กิโลกรัมละ 5 บาท)สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ปี พ.ศ. 2566 แล้ว ไม่สามารถเข้าร่วมได้ โดยรวบรวมใบสมัครและเอกสารส่งที่กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปาง หรือสอบถามรายละเอียด เบอร์โทร 054-829791 ต่อ 14

วันที่ 25 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระบาท แจ้งประชาสัมพันธ์การเก็บตัวอย่างดินเพื่อส่งวิเคราะห์ โดยแบ่งดินเก็บตามสภาพพื้นที่ เก็บดินให้ทั่ว 5- 10 จุด เก็บดินทั้ง 4 ทิศ ที่ความลึก 0 – 15 และ 15 – 30 เซนติเมตร กำจัดวัชพืช ตักดินให้เป็นรูปตัว V คลุกเคล้าให้เข้ากัน แบ่งเป็น 4 ส่วน นำ 1 ส่วน ประมาณ 1 กิโลกรัมใส่ถุงพลาสติก เขียนชื่อสถานที่และบริเวณที่เก็บดินเพื่อส่งวิเคราะห์

วันที่ 26 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระบาท แจ้งประชาสัมพันธ์เรื่องข้าววัชพืช ซึ่งมี 2 ชนิดที่ต้องกำจัด คือข้าวหาง และข้าวดีด

วิธีป้องกัน

  • เลือกใช้เมล็ดพันธุ์มาตรฐาน ไม่มีข้าวดีด ข้าวเด้งปลอมปน
  • ทำความสะอาดเครื่องจักร และอุปกรณ์ทุกครั้งก่อนการปฏิบัติงานในนาข้าว
  • เลือกใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ที่ไม่มีส่วนผสมที่มาจากนาข้าว และไม่มีเมล็ดข้าวดีด ข้าวเด้งปลอมปน
  • ปล่อยเป็ดไล่ทุ่งเข้ามากินเมล็ดข้าวดีด ข้าวเด้ง หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต
  • กำจัดด้วยวิธีเขตกรรม เช่น ล่อให้เมล็ดข้าวดีด ข้าวเด้งงอกแล้วไถกลบ 1-3 ครั้ง
  • เปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวจากนาหว่าน เป็นนาดำ หรือการปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้า
  • กำจัดด้วยการใช้สารกำจัดวัชพืช เช่น กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม

วันที่ 29 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระบาท แจ้งคณะกรรมการศูนย์บริการฯ ดังนี้ แจ้งเตือนเกษตรกรเฝ้าระวัง หนอนปลอกเล็กในต้นปาล์มน้ำมันและมะพร้าว

รูปร่างลักษณะ ตัวเต็มวัยหนอนปลอกเล็กเป็นผีเสื้อกลางคืน ระยะหนอนเป็นระยะ ที่ทำให้เกิดความเสียหาย โดยหนอนจะเริ่มแทะผิวใบปาล์มน้ำมันผสมกับใยที่ขับออกมาจากปาก             นำมาสร้างปลอกห่อหุ้มตัวเอง ปลอกมีช่องเปิด 2 ทาง ช่องเปิดด้านบนสำหรับโผล่หัวออกมาแทะกินใบพืชส่วนด้านล่างสำหรับเป็นช่องขับถ่าย ระยะหนอนใช้เวลาประมาณ 92 – 124 วัน              การแพร่กระจายโดยลม

ลักษณะการทำลาย หนอนปลอกเล็กจะแทะผิวใบ ทำให้ใบแห้งเป็นสีน้ำตาล และกัดทะลุใบเป็นรูขาดแหว่ง ถ้าเข้าทำลายรุนแรงจะเห็นทางใบทั้งต้นเป็นสีน้ำตาลแห้ง ลำต้นชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง หรือไม่ได้ผลผลิต

วิธีการป้องกันกำจัด

– หมั่นสำรวจสวนปาล์มน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ

– ตัดทางใบปาล์มน้ำมันที่พบการทำลาย นำไปเผาทำลายเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่พันธุ์

– พ่นด้วยเชื้อบีที (Bacillus thuringiensis) อัตรา 100 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบ                5 มิลลิลิตร พ่นให้ทั่วบริเวณใต้ใบและต้องพ่นในช่วงเย็น พ่นติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ห่างกัน 5 – 7 วัน

– ใช้สารเคมี พ่นด้วยสารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งผสมน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นทางใบ 1-2 ครั้งห่างกัน 15 วัน ตามคำแนะนำดังนี้

– ฟลูเบนไดเอไมด์ 20% WG (สารกลุ่ม 28) อัตรา 5 กรัม

– คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC (สารกลุ่ม 28) อัตรา 20 มิลลิลิตร

– ลูเฟนนูรอน 5% EC (สารกลุ่ม 15) อัตรา 20 มิลลิลิตร

คำแนะนำ การใช้สารเคมีต้องปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้สารเคมีอย่างเคร่งครัด และต้องสวมชุดและอุปกรณ์ป้องกันตัวองเพื่อป้องกันอันตราย

2.แจ้งประชาสัมพันธ์เรื่องพันธุ์ข้าว “พันธุ์​ข้าว​เจ้าและข้าวเหนียว​” สามารถสแกนดูรายละเอียดได้ที่ QR Code

ข้าวเจ้า นาปรังและนาปี มีดังนี้

– หอมพวง#5    – แม่โจ้9          – หอมพวง #20  – กข.95         – หอมปทุม                                                        – พิษณุโลก2      – ชัยนาท1       – กข.85          – กข.63          – กข.61

– กข.47          – กข.49          – กข.57          – กข.93          – กข.41

– กข.43          – กข.31          – กข 89          – 5451          – ข้าวหอมธรรมศาสตร์

– 8/2             – กข.29          – MGC1          – กข79           – ข้าวเบอร์ตอง999

– หอมใบเตย      – หอมมะลิ105 – กข 15          – หอมสยาม      – กข51

ข้าวเหนียว นาปรังและนาปี

– สันป่าตอง1    – กข.14                    – หอมนาคา      – CP35          – เวสสันตระ

– แม่โจ้2          – กข10 ธรรมดา          – CP888        – กข6 เตี้ย       – กข 22

– น่าน 59        – กข12 (หนองคาย 80) – เขี้ยวงู           – กข.6สูง         – กข18

– หอมวิสุทธิ์      – ข้าวเหนียวลืมผัว         – หอมนางนวล   – ธัญสิริน      

วันที่ 30 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระบาท แจ้งประชาสัมพันธ์ประกาศรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ หลักสูตร ต่อยอดรายได้เกษตรกร ด้วยคาร์บอนเครดิต ผ่านรายการวิทยุ และระบบออนไลน์ กิจกรรมโรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร ต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต เป็นหลักสูตรที่ต้องการเสริมสร้างความเข้าใจด้านคาร์บอนเครดิตให้กับเกษตรกรและประชาชนที่สนใจ สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเปลี่ยนการปลูกพืชที่ได้รับรายได้หลักทางเดียว เป็นการรับรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตจากการปลูกพืชอีกทางหนึ่ง โดยเรียนรู้ผ่านการรับฟังรายการวิทยุ ของสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร คลื่นความถี่ AM1386KHz และทางเว็บไซต์ www.am1386.com  พร้อมเรียนย้อนหลังผ่านทางยูทูปพร้อมทำเเบบทดสอบผ่าน Google Classroom  ผู้ผ่านการทดสอบจะได้รับประกาศนียบัตรจากกรมส่งเสริมการเกษตร

2. ประชาสัมพันธ์การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2567 ฤดูฝนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า จะเริ่มประมาณสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนพฤษภาคม 2567 ซึ่ง จะช้ากว่าปกติ1 – 2 สัปดาห์และจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนตุลาคม 2567 โดยปริมาณฝนรวมของทั้ง ประเทศในช่วงฤดูฝนปีนี้จะใกล้เคียงค่าเฉลี่ยปกติและใกล้เคียงกับปีที่แล้ว (ปีที่แล้วในช่วงฤดูฝนปริมาณ ฝนรวมมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 1 ส่วนปริมาณฝนรวมทั้งปีน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 6) โดยในช่วง ครึ่งแรกของฤดูฝน (ตั้งแต่วันเริ่มต้นถึงเดือนกรกฎาคม) ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะใกล้เคียงค่าเฉลี่ยปกติ ส่วนในช่วงครึ่งหลังฤดูฝน (เดือนสิงหาคมถึงปลายเดือนตุลาคม) ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะมากกว่า ค่าเฉลี่ยปกติประมาณร้อยละ 5 ในช่วงประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ปริมาณและการกระจาย ของฝนมีน้อย และส่งผลให้เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ประชาชนจึงควรใช้น้ำเพื่อประโยชน์สูงสุด ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายนและตุลาคม เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูง ที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ และก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่

วันที่ 31 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระบาท แจ้งประชาสัมพันธ์ว่าจังหวัด​ลำปาง​แจ้งให้ทราบว่าในเดือนนี้ ยังมีการตรวจสอบจุดความร้อน (Hotspot) ไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 จึงขอให้ทุกชุมชนช่วยประชาสัมพันธ์​ในช่องทางติดต่อกับเกษตรกร ขอความร่วมมือเกษตรกรหลีกเลี่ยงการเผาในช่วงเดือนนี้

วันที่ 3 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำพระบาท ได้รับแจ้งจากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคเหนือ จังหวัดลำปาง แจ้งประชาสัมพันธ์ เปิดรับสมัครผู้สนใจที่จะสร้างอาชีพ สร้างรายได้เพิ่มอีก 1 ช่องทาง ไม่มีพื้นฐานก็เรียนได้ โดยฝึกอาชีพฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เรียนฟรี มีที่พัก อาหารฟรี ตลอดหลักสูตร *เมื่อมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครครบตามข้างต้นจะมีการประกาศรายชื่อให้ทราบทางหน้าเพจของหน่วยงาน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยสมัครและติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :0 5482 9709 หรือ 0 5482 9734 กลุ่มส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพ (ในวันและเวลาราชการ)

วันที่ 4 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระบาท แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการอัตราค่าขนส่ง “ลดพิเศษ”ผลผลิตทางการเกษตรภาคเหนือ ประจำปี 2567 “พาณิชย์ จับมือ Kerry Express” มอบส่วนลดค่าบริการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรแก่เกษตรกร/ผู้ประกอบการ SMEs จังหวัดลำปาง ซึ่งสินค้าที่สมัครเข้าร่วมโครงการได้เป็นผักและผลไม้ทุกชนิด ประเภทสดและแปรรูป ยกเว้นสตอเบอร์รี่สด  คุณสมบัติผู้สมัคร : เกษตรกร สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่/วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์การเกษตร/สมาคม ของจังหวัดลำปาง ระยะเวลาโปรโมชั่น :  ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม – 31 ธันวาคม 2567 โดยโควตา 30 ราย / จังหวัด และสามารถออนไลน์ได้ที่ https://forms.gle/oLrztzVha9UfKGfp6 (ต้องใช้บริการภายใน 14 วัน ภายหลังจากเจ้าหน้าที่ Kerry โทรหายืนยันการเข้าร่วมโครงการฯ)

 

วันที่ 23 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระบาทแจ้งประชาสัมพันธ์การทำแปลงผักแบบยกแคร่

วันที่ 24 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระบาท แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริม การเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว ปี พ.ศ. 2567 หลักเกณฑ์และคุณสมบัติของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีดังนี้ คือ

  1. เป็นครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร ฤดูนาปี 2566/67 และไม่ได้รับความช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าวจากหน่วยงานของกรมการข้าวในปี 2566-2567
  2. เกษตรกรรวมกลุ่มกันสมัครผ่านผู้นำชุมชน อาสาสมัครเกษตรกรหมู่บ้าน (อกม.) เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ประธานศูนย์ข้าวชุมชน ชาวนาอาสา หรือ เกษตรกรสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการโดยตรงกับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ในพื้นที่ โดยเกษตรกรแต่ละรายจะได้รับการช่วยเหลือตามพื้นที่ปลูกจริงที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร

เอกสารที่ใช้ประกอบใบสมัคร

  1. สำเนาบัตรประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนเกษตรกร
  3. สำเนาสมุดเล่มเขียว หน้าแรก (หน้าที่มีรูปถ่ายตนเอง) และหน้าการประกอบกิจกรรม ข้าว ปี พ.ศ. 2566 (อัพเดตข้อมูลสมุดได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง)

   เงื่อนไข

– ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ อัตราไร่ละไม่เกิน 15 กิโลกรัม รายละไม่เกิน 450 กิโลกรัม

– เกษตรกร 1 ราย สามารถเลือกได้ 1 ชนิดพันธุ์

– ในแต่ละกลุ่มสามารถเลือกได้ไม่เกิน 2 ชนิดพันธุ์

– พันธุ์ข้าวที่ร่วมโครงการ (สันป่าตอง 1 กิโลกรัมละ 4 บาท กข 6 กิโลกรัมละ 4 บาท

และขาวดอกมะลิ 105 กิโลกรัมละ 5 บาท)

สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ปี พ.ศ. 2566 แล้ว ไม่สามารถเข้าร่วมได้ โดยรวบรวมใบสมัครและเอกสารส่งที่กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปาง หรือสอบถามรายละเอียด เบอร์โทร 054-829791 ต่อ 14

วันที่ 25 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระบาท แจ้งประชาสัมพันธ์การเก็บตัวอย่างดินเพื่อส่งวิเคราะห์

วันที่ 26 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระบาท แจ้งประชาสัมพันธ์เรื่องข้าววัชพืช ซึ่งมี 2 ชนิดที่ต้องกำจัด คือข้าวหาง และข้าวดีด

วันที่ 29 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระบาท แจ้งคณะกรรมการศูนย์บริการฯ ดังนี้

1. แจ้งเตือนเกษตรกรเฝ้าระวัง หนอนปลอกเล็กในต้นปาล์มน้ำมันและมะพร้าว

2.แจ้งประชาสัมพันธ์เรื่องพันธุ์ข้าว “พันธุ์​ข้าว​เจ้าและข้าวเหนียว​” สามารถสแกนดูรายละเอียดได้ที่ QR Code

ข้าวเจ้า นาปรังและนาปี มีดังนี้

– หอมพวง#5    – แม่โจ้9          – หอมพวง #20  – กข.95         – หอมปทุม                                                        – พิษณุโลก2      – ชัยนาท1       – กข.85          – กข.63          – กข.61

– กข.47          – กข.49          – กข.57          – กข.93          – กข.41

– กข.43          – กข.31          – กข 89          – 5451          – ข้าวหอมธรรมศาสตร์

– 8/2             – กข.29          – MGC1          – กข79           – ข้าวเบอร์ตอง999

– หอมใบเตย      – หอมมะลิ105 – กข 15          – หอมสยาม      – กข51

ข้าวเหนียว นาปรังและนาปี

– สันป่าตอง1    – กข.14                    – หอมนาคา      – CP35          – เวสสันตระ

– แม่โจ้2          – กข10 ธรรมดา          – CP888        – กข6 เตี้ย       – กข 22

– น่าน 59        – กข12 (หนองคาย 80) – เขี้ยวงู           – กข.6สูง         – กข18

– หอมวิสุทธิ์      – ข้าวเหนียวลืมผัว         – หอมนางนวล   – ธัญสิริน      

วันที่ 30 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระบาท แจ้งประชาสัมพันธ์

  1. ประกาศรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ หลักสูตร ต่อยอดรายได้เกษตรกร ด้วยคาร์บอนเครดิต ผ่านรายการวิทยุ และระบบออนไลน์เปิดลงทะเบียน 22 เมษายน – 17 พฤษภาคม 2567 โดยเริ่มเรียนรู้และทดสอบ ในวันที่ 4 มิถุนายน – 16 กรกฎาคม 2567

เมื่อเรียนจบจะได้รับใบประกาศนียบัตร (หลังสอบ) สามารถลงทะเบียนสมัครเรียนได้ที่https://docs.google.com/forms/d/1-g2cjijTYlhMaqXZ1xmtwdFGaQ-O4DFaWMlv04Zlmew/edit

2. ประชาสัมพันธ์การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2567

วันที่ 31 เมษายน 2567 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ เลขานุการคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระบาท แจ้งประชาสัมพันธ์ว่าจังหวัด​ลำปาง​แจ้งให้ทราบว่าในเดือนนี้ ยังมีการตรวจสอบจุดความร้อน (Hotspot) ไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 จึงขอให้ทุกชุมชนช่วยประชาสัมพันธ์​ในช่องทางติดต่อกับเกษตรกร ขอความร่วมมือเกษตรกรหลีกเลี่ยงการเผาในช่วงเดือนนี้

วันที่ 30 เมษายน 2567 นายอาณัติ ฝั้นจักสาย รองประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปางคนที่หนึ่ง แจ้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านการเกษตร เรื่อง การเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว ปี พ.ศ. 2567 หลักเกณฑ์และคุณสมบัติของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีดังนี้ คือ

  1. เป็นครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร ฤดูนาปี 2566/2567 และไม่ได้รับความช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าวจากหน่วยงานของกรมการข้าวในปี พ.ศ. 2566-2567
  2. เกษตรกรรวมกลุ่มกันสมัครผ่านผู้นำชุมชน อาสาสมัครเกษตรกรหมู่บ้าน (อกม.) เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ประธานศูนย์ข้าวชุมชน ชาวนาอาสา หรือ เกษตรกรสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการโดยตรงกับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ในพื้นที่ โดยเกษตรกรแต่ละรายจะได้รับการช่วยเหลือตามพื้นที่ปลูกจริงที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร โดยเอกสาร           ที่ใช้ประกอบใบสมัคร สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนเกษตรกร และสำเนาสมุดเล่มเขียว หน้าแรก (หน้าที่มีรูปถ่ายตนเอง) และหน้าการประกอบกิจกรรมข้าว ปี พ.ศ. 2566 (อัพเดตข้อมูลสมุดได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง)

เงื่อนไขการสมัคร

– ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ อัตราไร่ละไม่เกิน 15 กิโลกรัม รายละไม่เกิน 450 กิโลกรัม

– เกษตรกร 1 ราย สามารถเลือกได้ 1 ชนิดพันธุ์

– ในแต่ละกลุ่มสามารถเลือกได้ไม่เกิน 2 ชนิดพันธุ์

– พันธุ์ข้าวที่ร่วมโครงการ (สันป่าตอง 1 กิโลกรัมละ 4 บาท กข 6 กิโลกรัมละ 4 บาท

และขาวดอกมะลิ 105 กิโลกรัมละ 5 บาท)

สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ปี พ.ศ. 2566 แล้ว ไม่สามารถเข้าร่วมได้ ทั้งนี้สามารถรวบรวมใบสมัครและเอกสารส่งที่กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลำปาง หรือสอบถามรายละเอียด เบอร์โทร 054-829791 ต่อ 14

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า